อาชีวอนามัยและความปลอดภัย
การบริหารจัดการด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยของ SMPC อยู่ภายใต้การบริหารจัดการด้าน Occupational Safety,
Health, and-Working Environment ซึ่งมีการกำหนดนโยบายที่อ้างอิงมาตรฐานและแนวปฏิบัติของประเทศไทยและระดับสากล โดยยึดหลักแนวทางการบริหารจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานดังนี้
- ความปลอดภัยส่วนบุคคลของผู้ปฏิบัติงาน
- ความปลอดภัยของเครื่องจักร และกระบวนการผลิต
- การตรวจวัดสภาพแวดล้อมในการทำงานให้ได้ตามข้อกำหนดตามกฎหมาย
- การดูแลสุขภาพอนามัยของพนักงาน
- การบริหารจัดการในภาวะโรคระบาด
นโยบายความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน
บริษัทได้แต่งตั้งคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน (คปอ.) ตั้งแต่วันที่ 14
พฤศจิกายน 2531 ซึ่งประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิจากแผนกต่าง ๆ ภายในบริษัทและตัวแทนจากบริษัทผู้รับเหมาซึ่งทำหน้าที่สังเกตการณ์ โดยดำรงตำแหน่งคราวละ 2 ปี ซึ่งคณะกรรมการมีหน้าที่ ดังต่อไปนี้
- พิจารณานโยบายและแผนงานด้านความปลอดภัยในการทำงาน รวมทั้งความปลอดภัยนอกงานเพื่อป้องกันและลดการเกิดอุบัติเหตุ การประสบอันตราย การเจ็บป่วย หรือการเกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญอันเนื่องจากการทำงาน หรือความไม่ปลอดภัยในการทำงานเสนอต่อนายจ้าง โดยนโยบายและเป้าหมายของปี 2566 ยังคงนโยบายและเป้าหมายต่อเนื่องจากปีที่ผ่านๆ มา คือ การลดอุบัติเหตุถึงขั้นหยุดงานให้เป็นศูนย์
- รายงานและเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางปรับปรุงแก้ไขให้ถูกต้องตามกฎหมายเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานและมาตรฐานความปลอดภัยในการทำงานต่อนายจ้าง เพื่อความปลอดภัยในการทำงานของลูกจ้าง ผู้รับเหมา และบุคคลภายนอกที่เข้ามาปฏิบัติงานหรือเข้ามาใช้บริการในสถานประกอบกิจการ
- ส่งเสริมสนับสนุน กิจกรรมด้านความปลอดภัยในการทำงานของสถานประกอบกิจการ
- พิจารณาข้อบังคับและคู่มือ รวมทั้งมาตรฐานด้านความปลอดภัยในการทำงานของสถานประกอบกิจการเสนอต่อนายจ้าง
- สำรวจการปฏิบัติการด้านความปลอดภัยในการทำงานและตรวจสอบสถิติการประสบอันตรายที่เกิดขึ้นในสถานประกอบกิจการนั้นอย่างน้อยเดือนละหนึ่งครั้ง พร้อมทั้งรายงานให้นายจ้างทราบทุกไตรมาส
- พิจารณาโครงการหรือแผนการฝึกอบรมเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงานรวมถึงโครงการหรือแผนการอบรมเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบในด้านความปลอดภัยของลูกจ้าง หัวหน้างาน ผู้บริหาร นายจ้าง และบุคลากรทุกระดับเพื่อเสนอความเห็นต่อนายจ้าง
- วางระบบการรายงานสภาพการทำงานที่ไม่ปลอดภัยให้เป็นหน้าที่ของลูกจ้างทุกคนทุกระดับต้องปฏิบัติ
- ติดตามผลความคืบหน้าเรื่องที่เสนอนายจ้าง
- รายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี รวมทั้งระบุปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการเมื่อปฏิบัติหน้าที่ครบหนึ่งปี เพื่อเสนอต่อนายจ้าง
- ประเมินผลการดำเนินงานด้านความปลอดภัยในการทำงานของสถานประกอบกิจการ
- ปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยในการทำงานอื่นตามที่นายจ้างมอบหมาย
โดยคณะกรรมการ คปอ. มีกำหนดการประชุมเป็นประจำทุกเดือน โดยมีวาระการประชุมร่วมกันสำรวจบริเวณโรงงาน
เพื่อชี้จุดเสี่ยง และหาทางแก้ไขและป้องกันไม่ให้เกิดอันตราย พร้อมกับมีการสนับสนุนให้คณะกรรมการเสนอความคิดเห็นสิ่งที่ควรจะทำเพิ่มเติมเพื่อความปลอดภัยของพนักงาน
ผลการดำเนินงาน
เป้าหมายและสถิติการบาดเจ็บของพนักงานและผู้รับเหมาที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ของบริษัท มีดังนี้
ในปี 2565 ไม่มีอุบัติเหตุรุนแรงถึงขั้นทุพพลภาพหรือเสียชีวิตของพนักงานและผู้รับเหมาที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ของบริษัท
แต่ยังคงมีอัตราการบาดเจ็บถึงขั้นหยุดงานของพนักงานและผู้รับเหมาที่ยังไม่บรรลุเป้าหมาย อย่างไรก็ตามแนวโน้มของการเกิดอุบัติเหตุของปี 2565 เมื่อเทียบกับปี 2564 มีแนวโน้มลดลง โดยพนักงานเกิดอุบัติเหตุลดลง 17% และผู้รับเหมาเกิดอุบัติเหตุลดลง 9% บริษัทมีแนวทางการป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุซ้ำ โดยเมื่อเกิดอุบัติเหตุแต่ละครั้งคณะกรรมการ คปอ. และผู้ที่เกี่ยวข้องได้ร่วมกันสอบสวนและวิเคราะห์สาเหตุ เพื่อหาแนวทางการแก้ไขและป้องกันไม่ให้เกิดซ้ำ เพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายในการลดอุบัติเหตุถึงขั้นหยุดงานให้เป็นศูนย์
การดำเนินกิจกรรมลดอุบัติเหตุจากการทำงาน
บริษัทควบคุมดูแลและปรับปรุงให้ทุกพื้นที่ปฏิบัติงานมีความปลอดภัย และมีสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ดีถูกหลักอาชีว
อนามัยมาอย่างต่อเนื่อง บริษัทเชื่อมั่นว่าความปลอดภัยในการปฏิบัติงานจะเกิดขึ้นได้ เมื่อพนักงาน และผู้ปฏิบัติงานมีความตระหนักรู้ในอันตรายและความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น ตลอดจนเข้าใจในมาตรการความปลอดภัยอย่างแท้จริงโดยบริษัทมีการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่
- การอบรมให้ความรู้ด้านความปลอดภัย โดยบริษัทได้อบรมด้านความปลอดภัยในการปฏิบัติงานให้กับพนักงานทุกระดับทั้งพนักงานที่เข้าใหม่และพนักงานที่บรรจุแล้ว รวมถึงผู้รับเหมาที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ของบริษัท ตามความจำเป็นของแต่ละลักษณะงานและพื้นที่การทำงาน
- มีการจัดเตรียมอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลให้แก่ผู้ปฏิบัติงานอย่างเหมาะสมกับลักษณะพื้นที่การทำงาน และให้พนักงานตระหนักรู้ถึงความสำคัญของการใส่อุปกรณ์นิรภัย รวมถึงมีการตรวจตราที่เข้มงวดเพื่อให้มั่นใจได้ว่าพนัก
งานและผู้รับเหมาได้ใส่อุปกรณ์นิรภัยอย่างถูกต้อง - ตรวจวัดสภาพแวดล้อมในการทำงาน โดยมีการตรวจวัดตามที่กฎหมายกำหนดปีละ 1 ครั้ง ได้แก่ การตรวจวัดความเข้มข้นของแสงสว่างในพื้นที่การทำงาน การตรวจคุณภาพอากาศ การตรวจวัดเสียง การตรวจวัดความร้อน ซึ่งผลการตรวจวัด ในปี 2565 พบว่าผ่านเกณฑ์มาตรฐานตามที่กฎหมายกำหนด
- วิเคราะห์และประเมินความเสี่ยงในด้านความปลอดภัย เพื่อหาแนวโน้มของอันตรายที่จะเกิดขึ้น จุดเสี่ยงที่อาจเกิดอันตรายจากการปฏิบัติงานพร้อมทั้งหาทางแก้ไขและป้องกันไม่ให้เกิดอันตราย
- มีการซ้อมแผนฉุกเฉินประจำปีทั้งหมด 7 แผน ได้แก่ การป้องกันและระงับเหตุอัคคีภัย การป้องกันและระงับเหตุสารเคมีอันตรายรั่วไหล การป้องกันและระงับเหตุอุทกภัย การป้องกันและระงับเหตุน้ำเสียไหลล้น การป้องกันและระงับเหตุฉุกเฉินจากรังสี การป้องกันและระงับเหตุแก๊สรั่วไหล และการป้องกันอุบัติภัยเพื่อตอบสนองต่อเหตุฉุกเฉินในกรณีเกิดเหตุรั่วไหล อัคคีภัย และการระเบิดของกากอุตสาหกรรม