การบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
บริษัท สหมิตรถังแก๊ส จำกัด (มหาชน) ตระหนักถึงความสำคัญและผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่โลก
กำลังเผชิญอยู่ ซึ่งต้องการความร่วมมือจากประชาคมโลกในความพยายามลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก บริษัทฯ จึงมุ่งมั่นที่จะดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม และให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการสภาพภูมิอากาศเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
ความเสี่ยงต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัทที่อาจเกิดขึ้นใหม่
(Emerging Risk)
ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate change)
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นความเสี่ยงที่มีความท้าทายต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัทเป็นอย่างสูง ปัจจุบันทั่วโลก
ให้ความสำคัญอย่างจริงจังในการรับมือสถานการณ์ดังกล่าว เนื่องจากหากไม่มีการเตรียมพร้อมรับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นอาจก่อให้เกิดความสูญเสียต่อชีวิต และทรัพย์สิน หนึ่งในปัญหาที่สำคัญได้แก่เรื่องสภาวะโลกร้อน ที่สาเหตุหลักเกิดจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศของโลก โดยก๊าซเรือนกระจกส่วนใหญ่เกิดจากการเผาไหม้ทั้งจากเครื่องยนต์ของยานพาหนะต่างๆ การเผาพื้นที่ทางการเกษตร การใช้ฟืน และอากาศพิษจากปล่องโรงงานอุตสาหกรรม และสาเหตุเหล่านี้ส่งผลให้เกิดปัญหาเรื่องมลพิษอื่นๆตามมา เช่น ปัญหาในเรื่องของฝุ่น PM 2.5 ซึ่งส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
ด้วยเหตุนี้ทำให้เกิดการขับเคลื่อนทางสังคมที่มุ่งเน้นการลดมลพิษ และการตั้งเป้าหมายปล่อยคาร์บอนสู่ชั้นบรรยากาศลด
ลงทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เช่นการออกกฎหมาย ระเบียบหรือข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ผ่านกลไกต่าง ๆ อาทิ การเก็บภาษีคาร์บอน และการนำภาษีคาร์บอนมาเป็นเครื่องมือในการส่งเสริมการลดการปล่อยคาร์บอนผ่านมาตรการปรับคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดน (Carbon Border Adjustment Mechanism: CBAM) และการส่งเสริมให้มีการใช้พลังงานทดแทนที่สนับสนุนพลังงานสะอาดที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งจากมาตรการดังกล่าวส่งผลให้แผนธุรกิจของบริษัทต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงไปสู่สังคมคาร์บอนต่ำ
บริษัทได้ดำเนินกิจการควบคู่กับการคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งบริษัทได้เห็นความสำคัญ และได้นำมาตรฐานระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ISO 14001:2015 มาใช้ในองค์กร มีการจัดทำนโยบายด้านสิ่งแวดล้อม จัดกิจกรรมและโครงการให้พนักงานตระหนักและให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม นำระบบดิจิทัลเข้ามาใช้ในการทำงานเพื่อลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ นอกจากนี้บริษัทได้พัฒนากระบวนการผลิตเพื่อลดการเกิดของเสียและลดมลพิษต่างๆ ได้แก่ นำระบบบำบัดอากาศแบบเปียก (Wet Scrubber) มาใช้ในกระบวนการผลิต เพื่อไม่ให้มีการปล่อยควันและฝุ่นที่เกิดจากกระบวนการผลิตไปสู่อากาศ ทำให้ไม่เป็นภัยต่อสิ่งแวดล้อม ทำการปลูกต้นไม้รอบรั้วโรงงานเพื่อให้เกิดเป็นพื้นที่สีเขียว และทำการบำบัดน้ำที่ใช้ในกระบวนการผลิตและนำกลับมาใช้ใหม่ 100%
นอกจากนี้บริษัทยังคำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่โลกกำลังเผชิญอยู่ บริษัทจึงมุ่งมั่นที่จะดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม โดยบริษัทได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกของกลุ่ม World LPG Association (WLPGA) ที่รวมตัวกันเพื่อพัฒนาตลาดการบริโภคแก๊สปิโตรเลียมเหลว เพื่อลดการใช้ฟืนซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดสภาวะโลกร้อน และบริษัทยังมีการจัดตั้งคณะทำงานด้านการจัดการคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร เพื่อกำหนดเป้าหมายและแนวทางดำเนินงานในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยบริษัทมีมาตรการในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก อาทิ เช่นการลดอัตราการรั่วไหลของระบบอากาศอัดไลน์ลมทั่วไปของโรงงาน การเปลี่ยน Air Compressor ทดแทนเครื่องเดิมที่มีประสิทธิภาพต่ำ การปรับปรุงฉนวนกันความร้อนผนังและประตูเตาเผาถังแก๊สในโรงงาน การลดปริมาณการใช้กระดาษ รวมถึงการลดใช้ไฟฟ้า และใช้พลังงานทดแทนจากระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาโรงงาน (Solar Rooftop) ทำให้ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงได้ส่งผลให้สามารถรักษาสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืน
แนวทางการบริหารจัดการคาร์บอนฟุตพริ้นท์
คณะกรรมการบริษัทและผู้บริหารระดับสูง มีบทบาทหน้าที่ในการจัดตั้ง และกำกับดูแลคณะทำงานด้านการจัดการคาร์บอน
ฟุตพริ้นท์ขององค์กร เพื่อกำหนดเป้าหมายและแนวทางดำเนินในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้สอดคล้องกับวิธีการจัดการคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของบริษัทฯ โดยแนวทางการบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของบริษัทฯ มีดังนี้
- การวิเคราะห์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการดำเนินงานของบริษัท
- การดำเนินงานเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
- การใช้วัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
จากแนวทางการบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของบริษัทฯ จึงมีการลดการใช้ไฟฟ้าและใช้พลังงานทด
แทนจากระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาโรงงาน (Solar Rooftop) ทำให้ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงได้ ส่งผลให้รักษาสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืน
นอกจากนี้ บริษัทยังตระหนักถึงการดำเนินงานเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็น
สำคัญ จึงได้ริเริ่มโครงการปรับปรุงเตาอบสีจากเตาอบสีแบบใช้ลมร้อน (Convection Oven) เป็นเตาอบอินฟาเรด (IR Oven) ทำให้สามารถประหยัดพลังงานและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงได้
เป้าหมาย
บริษัทฯ ตระหนักถึงความสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและสภาวะโลกร้อน ความเสี่ยงจากการเปลี่ยน
แปลงของสภาพภูมิอากาศต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัท บริษัทจึงให้ความสำคัญกับการจัดการเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และเพื่อตอบสนองต่อนโยบายของภาครัฐและภาคเอกชนทั้งในและต่างประเทศที่ให้ความสำคัญกับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก บริษัทจึงได้จัดตั้งคณะทำงานด้านการจัดการคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร และได้ทำการประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กร โดยเริ่มจัดทำข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นครั้งแรกเมื่อปี 2564 มีกระบวนการทวนสอบข้อมูล การจัดเก็บข้อมูล วัดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เป็นมาตรฐาน โดยในปี 2566 บริษัทได้ว่าจ้างบริษัท อีซีอีอี จำกัด เป็นผู้ทวนสอบข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กร ซึ่งเป็นข้อมูลระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2565 ถึง 31 ธันวาคม 2565 และได้รับการรับรองคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร (Carbon Footprint for Organization) จากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน)
บริษัทฯ ได้กำหนดเป้าหมายในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และผลการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกดังนี้
1. ก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้นทางตรง (Scope 1)
เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงต่างๆ ทั้งจากเครื่องจักร และจากพาหนะของบริษัทที่บริษัทเป็นเจ้าของ เช่น การเผาไหม้จาก
การใช้ LPG, น้ำมันเบนซินและดีเซล เป็นต้น การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากกระบวนการผลิต การใช้สารทำความ
เย็น และการใช้สารเคมีในระบบการบำบัดน้ำเสีย
2. ก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมจากการใช้พลังงาน (Scope 2)
เกิดจากการใช้พลังงานไฟฟ้าของบริษัท
3. ก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมด้านอื่นๆ (Scope 3)
เกิดจากการได้มาของพลังงานและเชื้อเพลิงต่างๆ เช่น LPG น้ำมันเบนซิน ดีเซล และไฟฟ้า
ผลการดำเนินงาน
ในปี 2566 บริษัทฯ ได้กำหนดเป้าหมายในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกร้อยละ 1.63 เทียบจากปี 2565 ซึ่งในปี 2566
บริษัทฯ ลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงได้ 977 ตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า หรือลดลงร้อยละ 4 เมื่อเทียบจากปี 2565
ในปี 2566 บริษัทได้ตรวจวัดการปล่อยมลพิษทางอากาศที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ ซึ่งผลการตรวจวัด ผ่านเกณฑ์ 100%
เป็นดังนี้
ชนิดของมลพิษทางอากาศ
Nitrous Oxide (NOx)
Volatile Oraganic Compounds (VOCs)
Particulate Matter (PM)
Carbon Monoxide (CO)
Sulphur Oxide (SOx)
Hazardous Air Pollutants (HAP)
ผลการตรวจวัด
บริษัทไม่มีการปลดปล่อย
บริษัทไม่มีการปลดปล่อย