การกำกับดูแลกิจการที่ดี
แนวทางการบริหารจัดการ
1. นโยบาย
คณะกรรมการและผู้บริหารให้ความสำคัญและมีแนวทางในการปฎิบัติ ควบคุมและกำกับดูแลกิจการอย่างต่อเนื่อง โดย
บริษัทได้ปลูกฝังจิตสำนึกเรื่องหลักบรรษัทภิบาล ตลอดจนจรรยาบรรณธุรกิจให้กับพนักงานทุกส่วน เพื่อเสริมสร้างองค์กรให้มีระบบบริหารงานที่มีประสิทธิภาพ เพิ่มมูลค่า และส่งเสริมการเติบโตอย่างยั่งยืนของบริษัท บริษัทสื่อสารแนวทางในการกำกับดูและกิจการผ่านคู่มือพนักงานให้พนักงานทุกท่านรับทราบตั้งแต่วันแรกที่เริ่มทำงาน เพื่อให้พนักงานทุกคนถือปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มต่างๆ อันได้แก่ ลูกค้า คู่ค้า คู่แข่ง ผู้ถือหุ้น สังคม ตลอดจนพนักงานและเพื่อนร่วมงานอย่างมีคุณธรรม ซื่อสัตย์ รับผิดชอบและโปร่งใส โดยกำหนดให้สอดคล้องกับแนวทางการกำกับและดูแลกิจการที่ดีที่มีการปรับปรุงใหม่ ปี 2560 ที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้นำมาเผยแพร่เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติให้กับบริษัทจดทะเบียน เพื่อให้มีความเหมาะสมกับภาวะการณ์และสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่อาจเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งได้แบ่งเป็นหลักปฏิบัติทั้งหมด 8 ข้อหลัก ดังนี้
- ตระหนักถึงบทบาทและความรับผิดชอบของคณะกรรมการในฐานะผู้นำที่สร้างคุณค่าให้แก่กิจการอย่างยั่งยืน
- กำหนดวัตถุประสงค์ เป้าหมายหลักของกิจการที่เป็นไปเพื่อความยั่งยืน
- เสริมสร้างคณะกรรมการที่มีประสิทธิผล
- สรรหาและพัฒนาผู้บริหารระดับสูงและการบริหารบุคลากร
- ส่งเสริมนวัตกรรมและการประกอบธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบ
- ดูแล ให้มีระบบการบริหารความเสี่ยงและการควบคุมภายในที่เหมาะสม
- รักษาความน่าเชื่อถือทางการเงินและการเปิดเผยข้อมูล
- สนับสนุนการมีส่วนร่วมและการสื่อสารกับผู้ถือหุ้น
2. หน่วยงานที่รับผิดชอบ (ระดับกรรมการและความรับผิดชอบ)
คณะกรรมการมีบทบาทสำคัญในการกำหนดวิสัยทัศน์ กลยุทธ์ นโยบาย และแผนการดำเนินงานขององค์กร และพิจารณา
ประเด็นความเสี่ยงระดับองค์กรที่อาจเกิดขึ้น ควบคู่ไปกับการกำหนดแนวทางการบริหารจัดการที่เหมาะสมกับการดำเนินธุรกิจ ตลอดจนการจัดให้มีระบบบัญชี การรายงานทางการเงินและการสอบบัญชีที่มีความน่าเชื่อถือ
คณะกรรมการบริษัทฯ ประกอบด้วยคณะกรรมการชุดย่อย 5 กลุ่ม ได้แก่ คณะกรรมการตรวจสอบ คณะกรรมการสรรหา
คณะกรรมการค่าตอบแทน คณะกรรมการกำกับดูแลกิจการและพัฒนาความยั่งยืน และคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง
ทำหน้าที่เป็นองค์กรอิสระที่จะให้การสนับสนุนและช่วยคณะกรรมการบริษัทในการปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับการ
การสอบทานความถูกต้องของข้อมูลทางการเงินที่เสนอแก่ผู้ถือหุ้นและผู้ที่เกี่ยวข้องอื่น สอบทานประสิทธิภาพของระบบการควบคุมภายในกระบวนการตรวจสอบภายใน และการปฏิบัติตามกฎหมาย กฎเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์ฯ และหน่วยงานกำกับดูแลอื่นๆ เพื่อให้เกิดการกำกับดูแลกิจการที่ดี
ทำหน้าที่คัดเลือกผู้ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมที่จะดำรงตำแหน่งกรรมการและผู้บริหารระดับสูง เพื่อความโปร่งใส
ในการสรรหากรรมการ ตลอดจนพัฒนาความรู้ความสามารถของกรรมการให้ตอบสนองต่อความจำเป็นของธุรกิจ และเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้ถือหุ้นถึงตัวบุคคลที่จะเข้ามาดำรงตำแหน่งว่ามีคุณสมบัติและศักยภาพที่จะดูแลผลประโยชน์ของบริษัท
หลักเกณฑ์และกระบวนการสรรหากรรมการผู้จัดการ
ทำหน้าที่พิจารณาค่าตอบแทนสำหรับคณะกรรมการ คณะกรรมการชุดย่อย กรรมการบริหารและผู้บริหารและ
ผู้บริหารระดับสูง โดยมีวิธีการและหลักเกณฑ์ที่เป็นธรรมและสมเหตุสมผล รวมทั้งเป็นไปตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้เสีย
ทำหน้าที่สนับสนุนและช่วยการปฎิบัติงานของคณะกรรมการบริษัทในการรวบรวม กำหนดนโยบายด้านการ
กำกับดูแลกิจการ และกำหนดแนวปฎิบัติในด้านต่างๆของบริษัทได้อย่างเหมาะสม โปร่งใส สอดคล้องกับหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี รวมทั้งจริยธรรมทางธุรกิจ เพื่อสร้างความมั่นใจและความเชื่อมั่นต่อผู้ถือหุ้น นักลงทุน ผู้มีส่วนได้เสีย และผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย เพื่อสร้างคุณค่าให้บริษัทและสามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืน
ทำหน้าที่ให้การสนับสนุนและปฏิบัติการในนามของคณะกรรมการบริษัท ซึ่งอาศัยหลักการพื้นฐานของการ
กำกับดูแลกิจการที่ดี (Good Corporate Governance) โดยมีการเชื่อมโยงกับวิสัยทัศน์ ภารกิจ และเป้าหมายของบริษัท และให้มีกรอบการบริหารจัดการความเสี่ยงองค์กรตามแนวทางสากล (COSO Enterprise Risk Management Framework : COSO ERM) รวมถึงส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการบริหารความเสี่ยงทั่วทั้งองค์กร และปลูกฝังให้เป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมของบริษัทฯ ทั้งนี้เพื่อให้ผู้มีส่วนได้เสียของบริษัท สามารถเชื่อมั่นอย่างสมเหตุสมผลว่าการดำเนินงานเชิงกลยุทธ์จะมุ่งไปสู่การบรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายของบริษัทอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
3. กระบวนการและระบบบริหารจัดการ
บริษัทได้ตระหนักเป็นอย่างดีถึงความสำคัญของการกำกับและดูแลกิจการที่ดี จึงได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องในการส่ง
เสริมให้บริษัทมีระบบและปฏิบัติตามหลักการกำกับและดูแลกิจการที่ดี อันจะเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนของบริษัท เพราะเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงมาตรฐานการจัดการกิจการที่ดี ซึ่งจะมีส่วนทำให้บริษัทได้รับการยอมรับมากขึ้นทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ ตลอดจนเป็นการเสริมสร้างความโปร่งใสและประสิทธิภาพของฝ่ายจัดการ อันจะสร้างความเชื่อมั่นให้เกิดขึ้นแก่ผู้ถือหุ้น ผู้ลงทุน และผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย รวมทั้งยึดมั่นในความรับผิดชอบและประโยชน์ส่วนรวมต่อสังคมและประเทศชาติ
คณะกรรมการมีภาวะผู้นำ มีวิสัยทัศน์ และมีความเป็นอิสระในการตัดสินใจเพื่อประโยชน์สูงสุดของบริษัทและผู้
ถือหุ้นโดยรวม คณะกรรมการได้มีส่วนร่วมในการกำหนดและให้ความเห็นชอบในเรื่องวิสัยทัศน์ กลยุทธ์ เป้าหมาย แผนธุรกิจและงบประมาณของบริษัท ตลอดจนกำกับดูแลให้ฝ่ายจัดการดำเนินการให้เป็นไปตามแผนธุรกิจและงบประมาณที่กำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล คณะกรรมการและฝ่ายจัดการมีความรับผิดชอบต่อผู้ถือหุ้น ปัจจุบันคณะกรรมการบริษัทฯ ประกอบด้วยคณะกรรมการชุดย่อย 5 กลุ่ม ได้แก่ คณะกรรมการตรวจสอบ คณะกรรมการสรรหา คณะกรรมการค่าตอบแทน คณะกรรมการกำกับดูแลกิจการและพัฒนาความยั่งยืน และคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง ซึ่งมีโครงสร้าง คุณสมบัติ บทบาท หน้าที่ และความรับผิดชอบ ที่แตกต่างกัน
คณะกรรมการอิสระเป็นส่วนหนึ่งของคณะกรรมการบริษัท ซึ่งประกอบด้วยกรรมการอิสระอย่างน้อย 1 ใน 3
ของจำนวนกรรมการทั้งหมดที่มีอยู่จริง และมีจำนวนไม่น้อยกว่า 3 คน และตามหลักการกำกับและดูแลกิจการที่ดี ได้กำหนดสัดส่วนของกรรมการอิสระต้องมีมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด เมื่อเข้ากรณีต่อไปนี้
ก) ประธานกรรมการและกรรมการผู้จัดการเป็นคนเดียวกัน
ข) ประธานกรรมการไม่เป็นกรรมการอิสระ
ค) ประธานกรรมการและกรรมการผู้จัดการเป็นบุคคลในครอบครัวเดียวกัน
ง) ประธานกรรมการเป็นสมาชิกในคณะกรรมการบริหาร หรือ คณะทำงานหรือได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบ
ทางด้านการบริหาร
ปัจจุบันบริษัทมีกรรมการอิสระ 4 ท่าน ในจำนวนนี้เป็น กรรมการตรวจสอบ 3 ท่าน โดยประธานกรรมการของ
บริษัทเป็นกรรมการอิสระ ที่มีคุณสมบัติไม่เข้าข่ายตามที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กำหนด บริษัทจึงยังไม่จำเป็นต้องมีสัดส่วนของกรรมการอิสระมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด อย่างไรก็ตามเพื่อให้เป็นไปตามหลักการกำกับและดูแลกิจการที่ดีดังกล่าวข้างต้น บริษัทได้กำหนดนโยบายเกี่ยวกับองค์ประกอบของคณะกรรมการใน Board Skill Matrix โดยเพิ่มจำนวนกรรมการอิสระให้มากขึ้นถึงกึ่งหนึ่งของคณะกรรมการบริษัททั้งหมดที่มีอยู่จริง
นโยบายความหลากหลาย
นโยบายความหลากหลาย
โครงสร้างและองค์ประกอบของคณะกรรมการทั้งในเรื่องของจำนวนคณะกรรมการที่เหมาะสมกับขนาด ประเภท และความ
ซับซ้อนของธุรกิจ และคุณสมบัติของกรรมการในด้านทักษะ ประสบการณ์ ความสามารถเฉพาะด้านที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจหรืออุตสาหกรรมหลักที่บริษัทดำเนินการอยู่ โดยจัดทำเป็น Board Skill Matrix ซึ่งช่วยทำให้การสรรหากรรมการของคณะกรรมการสรรหามีความสอดคล้องกับทิศทางการดำเนินธุรกิจของบริษัท
Board Skill Matrix
ผลการดำเนินงาน
สรุปผลการเข้าร่วมประชุมของคณะกรรมการบริษัทและคณะกรรมการชุดย่อยอื่นในปีที่ผ่านมา ได้ดังนี้