การบริหารจัดการสิทธิมนุษยชน
นโยบายสิทธิมนุษยชน
คณะกรรมการ ผู้บริหาร ตลอดจนพนักงานของ บริษัท สหมิตรถังแก๊ส จำกัด (มหาชน) ทุกคน ต้องตระหนักในความ
สำคัญ และเคารพต่อสิทธิมนุษยชนในทุกด้านและทุกคน โดยไม่แบ่งแยกจากความแตกต่างไม่ว่าจะเป็นเรื่องเชื้อชาติ เพศ ศาสนา การศึกษา หรือเรื่องอื่นใด โดยบริษัทฯ ให้คำมั่นในการกำกับดูแล ให้มีการปฎิบัติต่อทุกคนตามหลักสิทธิมนุษยชนอย่างเท่าเทียมกัน โดยปราศจากการเลือกปฎิบัติ ป้องกันการกระทำที่เป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน รวมถึงจะสนับสนุน ส่งเสริมเรื่องสิทธิมนุษยชน ทั้งการสื่อสาร เผยแพร่ ให้ความรู้ความเข้าใจทั้งในส่วนของพนักงานบริษัทฯ คู่ค้า ตลอดจนผู้เกี่ยวข้องในกิจกรรมการดำเนินงานของบริษัท ให้ยึดถือและปฎิบัติตามนโยบายด้านสิทธิมนุษยชนของบริษัทฯ อย่าง เคร่งครัด
กระบวนการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน
(Human Rights Due Diligence: HRDD)
บริษัทได้มีการกำหนดกระบวนการตรวจสอบด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน เพื่อใช้เป็นแนวปฏิบัติและบริหารจัดการประ
เด็นด้านสิทธิมนุษยชน จัดลำดับความสำคัญประเด็นความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน รวมถึงแนวทางการป้องกัน แก้ไข และเยียวยาผล กระทบด้านสิทธิมนุษยชน ซึ่งประกอบไปด้วย 5 ขั้นตอน ดังนี้
1. ประกาศนโยบายด้านสิทธิมนุษยชน
2. ระบุประเด็นและประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน
3. บูรณาการผลการประเมินกับการบริหารภายในองค์กร
4. ติดตามและทบทวนผลการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน
5. การแก้ไขเยียวยาผลกระทบและช่องทางการรับเรื่องร้องเรียน
การประเมินความเสี่ยงและผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน
บริษัทประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนตลอดห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจ เพื่อระบุ ป้องกัน และลดผลกระทบจากความ
เสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนในการดำเนินงานของบริษัทตลอดห่วงโซ่คุณค่า โดยเกณฑ์การประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนพิจารณาจาก 2 ปัจจัย ได้แก่ ความรุนแรงของความเสี่ยง และโอกาสที่จะเกิด โดยครอบคลุมสิทธิมนุษยชน 6 ด้าน ได้แก่ สิทธิแรงงาน สิทธิชุมชน โซ่อุปทาน ความปลอดภัย สิ่งแวดล้อม และ สิทธิลูกค้าและผู้บริโภค พบว่าไม่มีความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนที่อยู่ในระดับสูง และพบความเสี่ยงในระดับปานกลาง 2 ประเด็น ดังนี้
เมทริกซ์ความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน
ความรุนแรงของความเสี่ยง
ระดับความเสี่ยง
โอกาสที่จะเกิด
แนวทางการบริหารจัดการความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน
ความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน ที่มีความเสี่ยงอยู่ในระดับปานกลาง-สูง บริษัทมีแนวทางในการบริหารจัดการความเสี่ยง
ดังนี้
ประเด็นความเสี่ยงด้านมนุษยชน
มาตรการบรรเทาผลกระทบ
สุขภาพและความปลอดภัยของพนักงาน
สุขภาพและความปลอดภัยของชุมชน
- ดำเนินงานตามระบบการบริหารจัดการของบริษัทฯ เช่น แนวทางการกำกับดูแลความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม
- จัดอบรมและสร้างความตระหนักรู้ด้านความปลอดภัยให้แก่พนักงานและผู้รับเหมา
- จัดทำข้อมูลสถิติความปลอดภัยในการทำงาน เพื่อประเมินความ
เสี่ยงและลดผลกระทบในกระบวนการทำงานที่ส่งผลต่อสุขภาพและความปลอดภัยของพนักงาน - จัดเตรียมอุปกรณ์สำหรับการปฐมพยาบาลและรถพยาบาล
- การประเมินความเสี่ยงพิจารณาจากกรณี/เหตุการณ์ในอดีตที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและความปลอดภัยในชุมชน
- บริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมให้ถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนด
- บริหารจัดการด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อลดผลกระทบเชิงลบต่อชุมชน
- มีคณะทำงานด้านสิ่งแวดล้อมโดยแยกตามประเภทของลักษณะมลพิษเพื่อควบคุม
- เยียวยาเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนแก่ผู้ได้รับผลกระทบ
การบริหารจัดการข้อร้องเรียนและกระบวนการแก้ไขเยียวยา
(Remediation)
บริษัทให้ความสำคัญกับกระบวนการในการปกป้องและเยียวยาผู้ที่อาจได้รับผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน จากการดำเนิน
งาน โดยบริษัทได้เปิดโอกาสให้ผู้ที่อาจได้รับผลกระทบสามารถแจ้งข้อร้องเรียนโดยติดต่อฝ่ายบุคคล ผู้บริหาร หรือกรรมการ ได้ผ่านช่องทาง ดังนี้
1. ส่งจดหมายทางไปรษณีย์ มาตามที่อยู่บริษัท
เลขที่ 92 ซอยเทียนทะเล 7 แยก 4 ถนนบางขุนเทียน-ชายทะเล แขวงแสมดำ เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร 10150
2. ส่งจดหมายอิเล็กโทรนิกส์มาที่ Email: cs@smpcplc.com
3. กล่องรับเรื่องร้องเรียนภายในบริษัท
กรณีการดำเนินงานของบริษัทก่อให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชน บริษัทจะดำเนินการสืบสวนข้อเท็จจริง วิเคราะห์หา
สาเหตุ ดำเนินการแก้ไขและป้องกันตามขั้นตอนต่อไป โดยบริษัทจะดูแลและเยียวยา ผู้ได้รับผลกระทบจากการกระทำที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนตามความเหมาะสมในแต่ละกรณี